101 In Focus Ep.157: ‘กล่องแรกเกิด’ ความเท่าเทียมก้าวแรกของชีวิต



แม้ว่าเด็กแรกเกิดเป็นวัยที่ได้ควรรับการสนับสนุนมากที่สุด แต่กลับได้รับสวัสดิการจากรัฐน้อยที่สุด และยังเผชิญความเหลื่อมล้ำในขั้นพื้นฐานที่สุด นั่นคือโอกาสที่จะมีชีวิตรอดปลอดภัย

ขณะที่สิทธิลาคลอดยังไม่ครอบคลุม เงินอุดหนุนก็มีเงื่อนไขเข้าถึงยาก ทำให้ช่วงเวลาที่เปราะบางที่สุดของชีวิตคนไทยยิ่งตกอยู่ในความเสี่ยงมากขึ้นอีก การปิดช่องว่างสวัสดิการเด็กปฐมวัยควรทำไปพร้อมการสนับสนุนที่เป็นรูปธรรมและตรงเป้า เพื่อช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางอย่างทันท่วงที และเพื่อแสดงสัญลักษณ์ว่ารัฐจะไม่ทอดทิ้งให้พ่อแม่ต้องดิ้นรนเพียงลำพัง

101 In Focus สัปดาห์นี้จึงชวนคุยกันเรื่องข้อเสนอทางเลือกในการจัดสวัสดิการที่ไม่ใช่ตัวเงิน คือ ‘กล่องแรกเกิด’ (baby box) เพื่อให้เด็กไทยทุกคนได้มีโอกาสเริ่มต้นก้าวแรกของชีวิตอย่างเท่าเทียมกัน

ดำเนินรายการโดย วจนา วรรลยางกูร บรรณาธิการ The101.world และ สรัช สินธุประมา นักวิจัย 101 PUB

……………….

อ่านเพิ่มเติม

‘กล่องแรกเกิด’ ความเท่าเทียมก้าวแรกของชีวิต


วิจัย/เขียน

คิด for คิดส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปรึกษาหัวใจกับใครก็เหมือนกัน? แนวทางกำกับมาตรฐานนักจิตวิทยาการปรึกษา-จิตบำบัดอย่างสมดุล

ปัญหาการอวดอ้างชื่อและล่วงละเมิดผู้รับบริการ เรียกร้องให้ต้องมีการกำกับนักจิตวิทยาการปรึกษา/จิตบำบัด แต่การสร้างมาตรฐานให้การดูแลหัวใจอาจไม่ง่ายอย่างที่คิด

ต้องพิการแค่ไหนรัฐไทยถึงมองเห็น

ในปัจจุบันยังมีผู้พิการจำนวนมากที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้พิการในระบบของภาครัฐ ขอเชิญชวนทุกท่านมาทำความเข้าใจสาเหตุที่ผู้พิการจำนวนมากตกหล่นไม่ได้รับสวัสดิการ และหาแนวทางที่จะทำให้ผู้พิการได้รับการช่วยเหลืออย่างที่สมควรได้รับ

ความเสี่ยงซึมเศร้า ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด?

ความเสี่ยงซึมเศร้า ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด?

ความเข้มแข็ง-อ่อนแอในจิตใจคนเราเริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่ เราฝึกฝนกำหนดใจเราเองได้แค่ไหน? นโยบายของรัฐควรมีบทบาทอย่างไรกับปัจจัยที่เกินการควบคุมของปัจเจกบุคคล?

ศูนย์ความรู้นโยบายเด็กและครอบครัว (คิด for คิดส์)

ศูนย์วิจัยและสื่อสารความรู้เพื่อตอบโจทย์อนาคต มุ่งวิเคราะห์ ออกแบบ เผยแพร่ความรู้ และขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านเด็ก เยาวชน ครอบครัว และการเรียนรู้ เพื่อเป็นฐานสนับสนุนทางวิชาการให้กับสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. และภาคีเครือข่าย

Copyright © 2024 kidforkids.org | All rights reserved.