นโยบายเด็กและครอบครัวแห่งอนาคต: ขยายพื้นที่ปฏิรูปนโยบายสาธารณะเพื่ออนาคตของเด็กไทย

ในโลกยุคใหม่ที่เต็มไปด้วยความท้าทายใหม่ นโยบายเด็กและครอบครัวเป็น ‘ฐาน’ สําคัญสําหรับการ
สร้างสรรค์อนาคตของประเทศอย่างแท้จริง หัวใจสําคัญสําหรับผู้กําหนดนโยบายคือ การออกแบบระบบนิเวศ
รอบเด็กและเยาวชน อันได้แก่ ครอบครัว ระบบนิเวศการเรียนรู้ (โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน
แหล่งเรียนรู้ต่างๆ) รัฐ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และชุมชน ในฐานะปัจจัยเชิงสถาบันที่ส่งผลต่อ
พัฒนาการของเด็กและเยาวชน เพื่อให้เด็กและเยาวชนเติบโตอย่างเต็มศักยภาพสูงสุดตามเส้นทางที่แต่ละคน
ได้เลือกเอง

เด็กไทยต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งระดับโลกและความท้าทายเฉพาะในสังคมไทย 6 ด้านหลัก ได้แก่

(1) ความผันผวน-ซับซ้อน-ไม่แน่นอน-คลุมเครือของโลกใหม่ (VUCA World) ทำให้เด็กและเยาวชนต้องเผชิญกับสถานการณ์ใหม่หลายด้านที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในสังคม

(2) ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่นำพาสังคมสู่ยุคดิจิทัล ที่แม้มีศักยภาพมาก แต่ก็ทำให้ความรู้แบบเดิมมีประโยชน์และอายุการใช้งานสั้นลง และเสี่ยงต่อภาวะตลาดแรงงานสองขั้ว

(3) การก้าวข้ามสู่ความเป็นพลเมืองโลก ซึ่งเด็กและเยาวชนยอมรับชุดคุณค่าความเป็นพลเมืองโลก รวมถึงการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนโลกมากกว่าในอดีตอย่างมาก

(4) ความไม่ลงรอยระหว่างเจเนอเรชัน ที่ปัจจุบันมีคนถึง 7 รุ่นอาศัยอยู่ร่วมกันในสังคม ต่างรุ่นก็ต่างมีชุดความเชื่อ คุณค่า พฤติกรรม ตลอดจนการรับข่าวสารที่ไม่เหมือนกัน ทำให้เกิดจินตนาการร่วมหรือปฏิบัติการร่วมทางสังคมได้ยากขึ้น

(5) การเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างประชากรสู่สังคมสูงวัย ซึ่งเด็กมีจำนวนน้อยลงอย่างมาก โครงสร้างครอบครัวมีความหลากหลายมากขึ้น และเมื่อโตขึ้นจะต้องเผชิญกับอัตราการพึ่งพิงสูง จึงยากต่อการรักษาคุณภาพชีวิตให้ดีเช่นในอดีต และ

(6) ความเหลื่อมล้ำที่ถ่างกว้างขึ้น ทั้งในมิติความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของครัวเรือน และยังมีความเหลื่อมล้ำแนวระนาบตามกลุ่มเฉพาะ ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ และการเรียนรู้

ทั้งหมดนี้ทำให้การเลี้ยงดูเด็กและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อพัฒนาการของเด็กต้องเปลี่ยนไป

รายงานฉบับนี้มุ่งสำรวจกระแสการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหญ่ที่ส่งผลต่อการพัฒนาเด็ก รวมถึงทิศทางของนโยบายเด็กและครอบครัวแห่งอนาคตในโลกยุคใหม่ พร้อมหันกลับมาประเมินช่องว่างทางนโยบายเด็กและครอบครัวของไทย เพื่อนำเสนอแนวทางลดช่องว่างนโยบาย (policy gap) และขยายพื้นที่ปฏิรูป (policy reform space) สำหรับนโยบายเด็กและครอบครัวเพื่ออนาคตของเด็กไทย โดยเฉพาะบทบาทของสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

วิจัย/เขียน

ปกป้อง จันวิทย์

วิจัย/เขียน

สมคิด พุทธศรี

วิจัย/เขียน

ฉัตร คำแสง

วิจัย/เขียน

วีรภัทร หลิน

บทความที่เกี่ยวข้อง

การสังเคราะห์ชุดนโยบายสุขภาพจิตของประชากรชาวไทยภายใต้บริบทหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

คิด ฟอร์ คิดส์ ชวนสำรวจชุดนโยบายสุขภาพจิตฉบับ ‘คิดใหม่ ทำใหม่’ ที่มุ่งถอดรหัสอุปสรรคในการดูแลสุขภาพใจของประชากรไทย และมอบวิธีแก้ไขที่ตรงจุด

คิดใหม่การเมืองเรื่อง ‘รุ่น’ กรณีศึกษาความขัดแย้งในครอบครัวไทย

คิด ฟอร์ คิดส์ ชวนสำรวจปมปัญหาความขัดแย้งระหว่าง ‘รุ่น’ ในสังคมไทย พร้อมชวนตั้งคำถามว่า สังคมไทยจะก้าวพ้น ‘ความขัดแย้งระหว่างคนต่างรุ่น’ ได้อย่างไรบ้าง?

ระบบสวัสดิการเด็กเล็กเพื่ออนาคต

คิด ฟอร์ คิดส์ ชวนมองหาช่องโหว่ใน ‘นโยบายสวัสดิการเด็กเล็ก’ เพื่อสกัดเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย ผ่านงานวิจัย ‘ระบบสวัสดิการเด็กเล็กเพื่ออนาคต’ ที่มุ่งตอบคำถามว่าเหตุใดไทยยังไม่สามารถพัฒนานโยบายนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ศูนย์ความรู้นโยบายเด็กและครอบครัว (คิด for คิดส์)

ศูนย์วิจัยและสื่อสารความรู้เพื่อตอบโจทย์อนาคต มุ่งวิเคราะห์ ออกแบบ เผยแพร่ความรู้ และขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านเด็ก เยาวชน ครอบครัว และการเรียนรู้ เพื่อเป็นฐานสนับสนุนทางวิชาการให้กับสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. และภาคีเครือข่าย

Copyright © 2024 kidforkids.org | All rights reserved.