เปิดบ้านครอบครัวไทยยุคใหม่: ความหลากหลายที่ไร้กรอบจำกัด

ณรจญา ตัญจพัฒน์กุล เรื่อง

กฤตพร โทจันทร์ ภาพ

 

0. แบบไหนจึงจะเรียกว่าครอบครัว?

 

‘พ่อ แม่ ลูก’ นี่คือภาพจำทั่วไปที่ผุดขึ้นมาโดยอัตโนมัติเมื่อเรานึกถึงภาพ ‘ครอบครัว’ หรือภาพนี้อาจจะเป็นภาพแรกๆ ที่บางคนเห็นตั้งแต่จำความได้ แต่ภาพจำนี้ ตรงกับ ‘ความเป็นจริงที่หลากหลาย’ ของครอบครัวไทยในปัจจุบันแค่ไหนกันแน่?

ถ้าลูกอยู่กับพ่อหรือแม่แค่คนใดคนหนึ่ง…

ถ้าไม่มีลูก…

ถ้าลูกมีพ่อสองคน หรือแม่สองคน…

ถ้าลูกต้องอยู่กับย่า เพราะพ่อแม่ต้องไปทำงานหาเงิน…

ถ้าบ้านใหญ่ของเราวันนี้ต้องอยู่บนโลกดิจิทัล…

ครอบครัวจะยังเป็นครอบครัวหรือไม่?

 

ข้อมูลเชิงสถิติดังต่อไปนี้ จะเผยภาพที่แท้จริงครอบครัวไทยในยุคไร้นิยาม ยุคที่ความสมบูรณ์แบบของครอบครัวไม่ได้หมายถึงเพียงแค่ ‘พ่อ แม่ ลูก’ เท่านั้น

 

1. 

 

ครอบครัวไทยไซซ์เล็ก สถิติครอบครัวคนเดียว ครอบครัว 2 คน ครอบครัวขนาดใหญ่

 

ตั้งแต่ปี 2539 จนถึงปี 2560 จำนวนสมาชิกในครอบครัวไทยมีแนวโน้มลดลง สะท้อนว่าครอบครัวไทยมีขนาดเล็ก โดยจำนวนครอบครัวคนเดียวและครอบครัว 2 คน มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ในขณะเดียวกันจำนวนครอบครัวที่มี 3 คนขึ้นไปกลับมีแนวโน้มลดลง

– ครอบครัวคนเดียวเพิ่มขึ้นจาก 8.8% เป็น 20.5% ของครัวเรือนไทยทั้งหมด หรือเพิ่มขึ้น 2.3 เท่าตัว

– ครอบครัว 2 คนเพิ่มขึ้นจาก 15.9% เป็น 27.3% ของครัวเรือนไทยทั้งหมด หรือเพิ่มขึ้น 1.7 เท่าตัว

– ครอบครัวขนาดใหญ่ที่มีสมาชิกจำนวน 3 คนขึ้นไป ลดลงจาก 75.3% เหลือ 52.2% ของครัวเรือนไทยทั้งหมด หรือลดลง 23%

หมายเหตุ : ตัวเลขในงานชิ้นนี้มีการปรับจากต้นฉบับ โดยปรับข้อมูลจำนวนครอบครัวขนาดใหญ่ในปี 2560 จาก 52.3%  ให้เป็น 52.2% เพื่อให้สัดส่วนรวมกันได้ 100%

ที่มา: งานวิจัย “การอยู่อาศัยร่วมกันของสมาชิกในครัวเรือนไทย พ.ศ. 2539 – 2560 : การจำแนกรูปแบบด้วยกลุ่มวัย” โดยดร. ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์

 

2. 

 

ครอบครัวเดี่ยว ครอบครัวหลักของครอบครัวไทย สถิติครัวเรือง ครอบครัวเดี่ยว ครอบครัวขยาย

 

ในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ครอบครัวไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 12.3 เป็น 20.3 ล้านครัวเรือน โดยระหว่างปี 2530-2556 ครอบครัวเดี่ยว (หมายรวมถึง ครอบครัวพ่อแม่ลูก, ครอบครัวสามีภรรยาที่ไม่มีลูก, ครอบครัวพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยว) ยังคงเป็นประเภทครอบครัวหลักที่มีจำนวนมากที่สุด แต่มีสัดส่วนที่น้อยลง ในขณะเดียวกันสัดส่วนครอบครัวขยาย (หมายรวมถึง ครอบครัวสามรุ่นและครอบครัวแหว่งกลาง) และครอบครัวอยู่คนเดียวนั้นเพิ่มขึ้น โดย

– ครอบครัวเดี่ยวลดลงจาก 66.7% เหลือ 49.9% ของจำนวนครัวเรือนไทยทั้งหมด

– ครอบครัวขยายเพิ่มขึ้นจาก 26.5% เป็น 35.7% ของจำนวนครัวเรือนไทยทั้งหมด

– ครอบครัวอยู่คนเดียวเพิ่มขึ้นจาก 6.1% เป็น 13.9% ของจำนวนครัวเรือนไทยทั้งหมด หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า ซึ่ง 75.4% ของครอบครัวคนเดียวเป็นประชากรวัยแรงงาน (15-59 ปี)

ที่มา: “รายงานสถานการณ์ประชากรไทย พ.ศ. 2558 โฉมหน้าครอบครัวไทย ยุคเกิดน้อย อายุยืน” โดย กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

 

3. 

 

สถิติคุณพ่อคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว

 

จากปี 2530-2556 ครอบครัวพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยวมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากจาก 970,000 ครัวเรือน เป็น 1.37 ล้านครัวเรือน หรือเพิ่มขึ้นถึง 41% และในจำนวนนี้ ประมาณ 80% ของครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวนั้นเป็นครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยว

ที่มา: “รายงานสถานการณ์ประชากรไทย พ.ศ. 2558 โฉมหน้าครอบครัวไทย ยุคเกิดน้อย อายุยืน” โดย กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

 

4. 

 

บ้านพ่อแม่ไม่พร้อมหน้า ของเด็กเจนซี-อัลฟ่า (Z-Alpha) สถิติของพ่อแม่ไม่อยู่พร้อมหน้า

 

จากการสุ่มตัวอย่างครอบครัวเด็กไทยเจนซี-อัลฟ่า จำนวน 1,340 ครอบครัว พบว่ามากกว่า 1 ใน 3 ของครอบครัวที่มีเด็กเจเนอเรชั่นซี-อัลฟ่า (generation Z-Alpha) ซึ่งมีอายุระหว่าง 3-14 ปี มีแนวโน้มที่ไม่ได้อยู่พร้อมหน้าพ่อแม่ลูก โดย 10.6% จาก 1,340 ตัวอย่างครอบครัวเด็กเจนซี-อัลฟ่าอาศัยอยู่ในครอบครัวแหว่งกลาง และ 24.3% จาก 1,340 ตัวอย่างครอบครัวเด็กเจนซี-อัลฟ่าอาศัยอยู่ในครอบครัวพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยว

ที่มา: งานวิจัย “เปิดบ้านเด็กซี-แอลฟา การอบรมเลี้ยงดู พัฒนาการ พฤติกรรม บรรยากาศในครอบครัว” โดย จงจิตต์ ฤทธิรงค์, สุภรต์ จรัสสิทธิ์ และพิมลพรรณ นิตย์นรา

 

5.

 

บ้านที่ไร้เด็ก ครอบครัวคู่สามีภรรยาที่ไม่มีลูก

 

ตั้งแต่ปี 2530-2556 ครอบครัวคู่สามีภรรยาที่ไม่มีลูกมีจำนวนเพิ่มขึ้น 3 เท่า โดยเพิ่มขึ้นจาก 5.6% เป็น 16.2% ของครัวเรือนไทยทั้งหมด

ที่มา: “รายงานสถานการณ์ประชากรไทย พ.ศ. 2558 โฉมหน้าครอบครัวไทย ยุคเกิดน้อย อายุยืน” โดย กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

 

6. 

 

อยู่กับปู่ย่าตายาย สถิติ

 

จากปี 2530-2556 ครอบครัวแหว่งกลาง หรือครอบครัวที่มีรุ่นปู่ย่าตายายอาศัยอยู่กับรุ่นหลานมีแนวโน้มจำนวนขึ้นเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มจาก 1% เป็น 2.1% ของจำนวนครัวเรือนไทยทั้งหมดหรือ 1 เท่าตัว โดย 90% ของครอบครัวแหว่งกลางมีหัวหน้าครอบครัวเป็นผู้หญิงและ 76% ของครอบครัวแหว่งกลางอาศัยอยู่ในชนบท

ที่มา: “รายงานสถานการณ์ประชากรไทย พ.ศ. 2558 โฉมหน้าครอบครัวไทย ยุคเกิดน้อย อายุยืน” โดย กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

 

7. 

 

สูงวัยเปราะบาง สถิติ

 

ในปี 2560 ผู้สูงอายุ 41.5% จากประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด 11.3 ล้านคน อาศัยอยู่ในครอบครัวเปราะบาง ซึ่งผู้สูงอายุต้องพึ่งพาตนเองหรือดูแลคนอื่นในครอบครัว โดยในจำนวนนี้ 50.2% เป็นครอบครัวที่ผู้สูงอายุอาศัยอยู่กับคู่สมรสตามลำพัง และ 26.1% เป็นครอบครัวที่ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพังคนเดียว

ที่มา: หนังสือ “ผู้สูงอายุอยู่โดดเดี่ยว (แต่) ไม่เดียวดาย” โดย ศุทธิดา ชวนวัน

 

8.

สถิติครอบครัวสีรุ้ง ครอบครัวแห่งความหลากหลาย ครอบครัว LGBT

 

จากการสำรวจปี 2554 พบว่ามี ‘ครอบครัว LGBT’ เกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลจากทัศนคติเรื่องเพศในสังคมไทยที่เปิดกว้างมากขึ้น โดยพบว่ามีครอบครัวชาย-ชายมีจำนวน 0.4% ของครัวเรือนไทย และครอบครัวหญิง-หญิงจำนวน 0.3% ของครัวเรือนไทย

อย่างไรก็ตาม การเก็บข้อมูลและศึกษาครอบครัวของคนเพศเดียวกันยังมีอยู่จำกัดมากและยังต้องรอให้มีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไปในอนาคต

ที่มา: “ประชากรและสังคม 2562: ครอบครัวไทย…สะท้อนอะไรในสังคม” โดย จงจิตต์ ฤทธิรงค์, ศุทธิดา ชวนวัน, สิรินทร์ยา พูลเกิด และสรัญญา สุจริตพงศ์

 

9.

 

ย้ายบ้านไปโลกดิจิทัล สถิติ

 

ในยุคปัจจุบัน โลกดิจิทัลกลายเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่รักษาความสัมพันธ์ในครอบครัวทุกรุ่น ทั้งรุ่นปู่ย่าตายาย พ่อแม่ และลูกหลาน

แต่ละรุ่นจะมีพฤติกรรมในการใช้สื่อแตกต่างกันออกไป แต่ในบริบทครอบครัว ไลน์และเฟซบุ๊กเป็นช่องทางติดต่อสื่อสารหลัก แต่การใช้งานทั้งสองแอปพลิเคชันมีวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน โดยในครอบครัวมักจะใช้เฟซบุ๊กเพื่อติดตามความเคลื่อนไหว ไม่ใช้ติดต่อสื่อสาร แต่จะใช่ไลน์ในการพูดคุยมากกว่า

ที่มา:  งานวิจัย “สายสัมพันธ์ครอบครัวไทยในสื่อสังคม” โดย ภูเบศร์ สมุทรจักร และ กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ

 

อินโฟกราฟฟิก

บทความที่เกี่ยวข้อง

ให้เด็กได้เบ่งบานนอกสถานรองรับ: แนวทางการเปลี่ยนผ่านสู่การเลี้ยงดูแบบครอบครัว

คิด for คิดส์ ชวนอ่านปัญหาการพัฒนาครอบครัวอุปถัมภ์ไทยที่ส่งผลให้เด็กไทยจำนวนมากไม่ได้รับการเลี้ยงดูในครอบครัวอย่างที่ควรจะเป็น

‘เอาลูกเขามาเลี้ยง เอาเมี่ยงเขามาอม’: ความเชื่อแบบไทยๆ อุปสรรคใหญ่ของนโยบายครอบครัวอุปถัมภ์

นโยบายการเพิ่มครอบครัวอุปถัมภ์เผชิญกับความเชื่อแบบไทยๆซึ่งเป็นกำแพงใหญ่ที่รัฐต้องก้าวข้าม หากจะผลักดันให้ดี ไม่ใช่แค่ปรับปรุงนโยบายแต่ต้องลงลึกถึงมายาคติที่มีมาแต่เดิม

การหา ‘งานที่ดี’ อาจเป็นเพียงความฝันของเยาวชนไทยส่วนใหญ่

คิด for คิดส์ ชวนสำรวจความฝันด้านอาชีพการงานของเยาวชนไทย พร้อมทั้งชวนมองดูโลกความจริงที่ทำให้ ‘งานที่ดี’ อาจเป็นเพียงความฝันของเด็กและเยาวชนไทยส่วนใหญ่

ศูนย์ความรู้นโยบายเด็กและครอบครัว (คิด for คิดส์)

ศูนย์วิจัยและสื่อสารความรู้เพื่อตอบโจทย์อนาคต มุ่งวิเคราะห์ ออกแบบ เผยแพร่ความรู้ และขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านเด็ก เยาวชน ครอบครัว และการเรียนรู้ เพื่อเป็นฐานสนับสนุนทางวิชาการให้กับสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. และภาคีเครือข่าย

Copyright © 2024 kidforkids.org | All rights reserved.